ชื่อโครงการ ศูนย์บำบัดและรักษาโรคมะเร็ง
นางสาวพิรชุดา ปทุมนุกูลศรี
5100138
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ปีการศึกษา
2555
ลิขสิทธิ์เป็นของ
มหาวิทยาลัยรังสิต
บทนำ
นิยาม ความหมายโครงการ
ศูนย์มะเร็ง
คือหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางในการวางแผนการบำบัดรักษาและให้คำปรึกษากับผู้ป่วย
และผู้ที่มีความเสี่ยงเฉพาะโรคมะเร็ง
Cancer Center
Is public location where members of a patient
of cancer and person who have risk to be cancer
จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทยเป็นเขตชุมชน
อุตสาหกรรมและมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น ทำให้มีประชาชนหนาแน่น มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
และอาชีวอนามัย ระบบบริการสาธารณสุขมีแต่
โรงพยาบาลขนาดเล็กและขนาดกลาง ไม่มี ศูนย์บริการทางการแพทย์ระดับ Excellence Center หรือระดับคณะแพทยศาสตร์ ที่จะช่วย พัฒนาระบบสาธารณสุขในพื้นที่ในด้านการศึกษา
วิจัยและบริการทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ฯ
จึงได้เสนอโครงการพัฒนารามาธิบดีสู่คณะแพทย์ศาสตร์ชั้นนำในเอเชีย
เพื่อพัฒนาวงการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย อันจะเกิดประโยชน์ ต่อประชาชน ทั้งในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการและเขตรอบนอก
ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร
รวมถึงประชาชนใน 7 จังหวัดภาคตะวันออก โครงการ “ศูนย์บำบัดและรักษาโรคมะเร็ง
บางพลี” จึงเปรียบเหมือนกับเป็นศูนย์กลางเพื่อการรวมตัวกันโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คำปรึกษาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
บำบัดและรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ให้บริการทางการแพทย์ที่มีความซับซ้อน
และเทคโนโลยีเครื่องมือที่ทันสมัย มีความเป็นสากล
และมุ่งเน้นกลุ่มผู้ใช้บริการไปที่ผู้ที่มีความเสี่ยง และ ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกกรณี
ประเด็นที่มาโครงการ (Problem Issues)
จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทยเป็นเขตชุมชน
อุตสาหกรรมและมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น ทำให้มีประชาชนหนาแน่น มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
และอาชีวอนามัย ระบบบริการสาธารณสุขมีแต่โรงพยาบาลขนาดเล็กและขนาดกลาง
ไม่มี ศูนย์บริการทางการแพทย์ระดับ Excellence Center หรือระดับคณะแพทยศาสตร์ ที่จะช่วย พัฒนาระบบสาธารณสุขในพื้นที่ในด้านการศึกษา วิจัยและบริการทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ฯ จึงได้เสนอโครงการพัฒนารามาธิบดีสู่คณะแพทย์ศาสตร์ชั้นนำในเอเชีย เพื่อพัฒนาวงการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย อันจะเกิดประโยชน์ ต่อประชาชน ทั้งในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการและเขตรอบนอก ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร รวมถึงประชาชนใน 7 จังหวัดภาคตะวันออก
ไม่มี ศูนย์บริการทางการแพทย์ระดับ Excellence Center หรือระดับคณะแพทยศาสตร์ ที่จะช่วย พัฒนาระบบสาธารณสุขในพื้นที่ในด้านการศึกษา วิจัยและบริการทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ฯ จึงได้เสนอโครงการพัฒนารามาธิบดีสู่คณะแพทย์ศาสตร์ชั้นนำในเอเชีย เพื่อพัฒนาวงการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย อันจะเกิดประโยชน์ ต่อประชาชน ทั้งในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการและเขตรอบนอก ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร รวมถึงประชาชนใน 7 จังหวัดภาคตะวันออก
โครงการนี้จึงเปรียบเหมือนกับเป็นศูนย์กลางเพื่อการรวมตัวกันโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คำปรึกษาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
บำบัดและรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ให้บริการทางการแพทย์ ที่มีความซับซ้อน
และเทคโนโลยีเครื่องมือที่ทันสมัย มีความเป็นสากล และมุ่งเน้นกลุ่มผู้ใช้บริการ ไปที่ผู้ที่มีความเสี่ยง
และ ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกกรณี ซึ่งสถานที่เช่นนี้มีเพียง 7 แห่งในประเทศไทย ที่เป็นศุนย์มะเร็งโดยเฉพาะ ไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาล โดยทั่วไป
1.
ประเด็นที่มาโครงการด้านหน้าที่ใช้สอย (Function)
เนื่องจากเขตอำเภอบางพลีเป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นน้อย
จึงทำให้สัดส่วนของประชากรมีพื้นที่สาธารณะ และนันทนาการไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ภาพที่ 1 แสดงจำนวนศุนย์มะเร็งภูมิภาค
7 ศูนย์
(สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร, 2551)
จากรูปที่ 1 แสดงถึงจำนวนศูนย์มะเร็งภูมิภาคที่มีเพียง
8 ศูนย์ รวมสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งไม่ได้นับรวมหน่วยมะเร็งในโรงพยาบาลทั่วไป
ซึ่งเป็นตัวเลขของสถานที่ที่น้อย เมื่อเทียบ กับสถิติผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นๆทุกวัน
กราฟที่ 14 แสดงโรคมะเร็งที่พบบ่อย 10 อันดับแรกในเพศชาย
จากกราฟที่ 1
โรคมะเร็งที่พบบ่อย 10 อันดับแรกในเพศชาย ได้แก่
1.
มะเร็งปอด
2.
มะเร็งลำไส้ใหญ่
3.
มะเร็งตับ
4.
มะเร็งหลอดอาหาร
5.
มะเร็งโพรงหลังจมูก
6.
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
7.
มะเร็งที่โคนลิ้น
8.
มะเร็งในช่องปาก
9.
มะเร็งกล่องเสียง
10. มะเร็งกระเพราะอาหาร
กราฟที่ 24 แสดงโรคมะเร็งที่พบบ่อย 10 อันดับแรกในเพศหญิง
จากกราฟที่ 2
โรคมะเร็งที่พบบ่อย 10 อันดับแรกในเพศหญิงได้แก่
1.
มะเร็งเต้านม
2.
มะเร็งปากมดลูก
3.
มะเร็งลำไส้ใหญ่
4.
มะเร็งปอด
5.
มะเร็งมดลูก
6.
มะเร็งรังไข่
7.
มะเร็งตับ
8.
มะเร็งต่อมไทรอยด์
9.
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
10. มะเร็งกระเพราะอาหาร
1.
ประเด็นโครงการที่มาด้านรูปแบบ (Form)
เนื่องจากศูนย์บำบัดรักษาเฉพาะโรคหรือโรงพยาบาลจะมีขนาดใหญ่
ตามจำนวนของเตียงและมุ่งเน้นไปที่ผู้ใช้เพียงบางกลุ่มเท่านั้น
เช่นผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรค และ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทุกกรณี
ที่สามารถใช้งานได้ จึงเกิดข้อจำกัดในเรื่องมลภาวะหรือภาพลักษณ์ของผู้ป่วย สำหรับ ผู้มาเยี่ยม
ที่ต้องเผชิญกับผู้ป่วยรายอื่น จึงต้องมีหน่วยงานสำหรับผู้ที่ยังสุขภาพปกติ
ได้เข้ามา ประเมินความเสี่ยงให้กับตนเอง
เพื่อที่จะได้ดูแลสุขภาพให้ดีและป้องกันในคราวต่อไปและเห็นใจผู้ป่วยท่านอื่นๆ
2.
ประเด็นที่มาด้านเทคโนโลยี (Technology)
เนื่องจากศูนย์บำบัดโรคมะเร็งในสมัยก่อน
การรักษาอาจยังไม่ทันสมัย จึงทำให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ ณ
ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยทัดเทียมสากล เครื่องมือที่ใช้ในการรักษาด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ “เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค True Beam” มีเครื่องแรกในเอเชียอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาโรคมะเร็ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลดการเกิดผลข้างเคียงแก่ผู้ป่วย
ด้วยการนำวิธีการฉายรังสีเทคนิค SBRT (Stereotactic Body Radiotherapy) มาใช้กับ
“เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค True
Beam”โดยผู้ป่วยจะได้รับผลประโยชน์ด้านการรักษาสูงสุด
ทั้งระยะเวลาในการฉายรังสีให้กับผู้ป่วย ที่จากเดิมต้องใช้เวลาถึง 20
นาทีในการฉายรังสี แต่เครื่องนี้ใช้เวลาเพียง 3-5 นาทีเท่านั้น นอกจากนี้
การรักษาด้วย“เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค True Beam”
ยังสามารถเพิ่มปริมาณรังสีจากการฉายในก้อนเนื้องอกได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น
ลดปริมาณรังสีที่โดนเนื้อเยื่อปกติส่วนอื่นๆลง ส่งผลให้ผู้ป่วย ได้รับการรักษา
ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นการเพิ่มโอกาสในการรักษาในกลุ่มผู้ป่วย
ที่ปฏิเสธการผ่าตัด ให้มีโอกาสหายขาดได้
ซึ่งก็นำไปสู่การเตรียมพื้นที่ในการออกแบบ
เพราะด้วยอนุภาครังสีที่มีอนุคสูง
ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ปกติและเจ้าหน้าที่
การเตรียมพื้นที่ จึงต้องคำนึง ไปถึงเรื่องโครงสร้างผนังของห้องฉายรังสีนี้ด้วย
ภาพที่ 2 แสดงประเด็นที่มาด้านเทคโนโลยีของเครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค
True Beam
ภาพที่ 3 แสดงผังโครงสร้างของห้องฉายแสงรังสีเร่งอนุภาค True Beam และ Trilogy
จากภาพที่
3
แสดงถึงโครงสร้างผนังรับน้ำหนักคอนกรีตที่มีการกันแสงรังสีอย่างแน่นหนาเพื่อให้ปลอดภัยทั้งเจ้าหน้าที่
แพทย์ พยาบาล และจากผังนี้ ห้องฉายรังสีนี้ได้ตั้งอยู่ในส่วนของชั้นใต้ดินของอาคาร
วัตถุประสงค์การศึกษา
1)
เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อม และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบโครงการ
2)
เพื่อศึกษาสถาปัตยกรรม และรูปแบบ ของสถาปัตยกรรม
ที่เหมาะสมกับโครงการ
3)
เพื่อศึกษากลุ่มผู้ใช้โครงการ และกิจกรรมต่างๆ
ของผู้ใช้โครงการให้สัมพันธ์เป้าหมายของผู้ใช้โครงการ
4)
เพื่อศึกษาถึงกระบวนการทางการออกแบบในทุกขั้นตอน และความสัมพันธ์ของแต่ละขั้นตอนว่าสอดคล้องกันยังไง
5)
เพื่อศึกษาถึงการ ทำรายละเอียดโครงการ ทางสถาปัตยกรรม
อย่างมีระบบ เพื่อใช้ในการออกแบบ
ขอบเขตการศึกษา
1)
ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชุมชน กิจกรรม
พฤติกรรมของผู้ใช้งาน การจัดการและระบบการบริหารของโครงการ
2)
ศึกษาองค์ประกอบต่างๆ เนื้อที่ใช้สอยในแต่ละกิจกรรม
รวมถึงความสัมพันธ์ของการใช้งานในแต่ละกิจกรรม
3)
ศึกษาจากกรณีอาคารตัวอย่างที่มีความใกล้เคียงทั้งทางด้าน
กิจกรรม ระบบการจัดการและรูปแบบของอาคาร
4)
โครงการที่จะมีการพัฒนารวมถึงการฟื้นฟูอาคารในอนาคต ที่มีผลต่อการออกแบบโครงการมาวิเคราะห์
5)
ศึกษาเทคโนโลยีการก่อสร้างที่มีในโครงการ รวมถึงระบบอุปกรณ์ต่างๆที่เหมาะสมกับโครงการ
SKETCH DESIGN
imagine
เป็นอาคาร low rise โอบล้อมด้วย ธรรมชาติ จากพืชพรรณไม้ มีสวนพฤกษศาสตร์เพื่อผ่อนคลายผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด เพื่อลดทอนความเครียดที่เกิดขึ้นสูงในช่วงวิกฤตชีวิต
อาคารมีความโล่ง โปร่ง นำแสงจากธรรมชาติเข้ามาภายในอาคาร ให้มากที่สุด และเต็มไปด้วยธรรมชาติ พืชพรรณไม้ และสายน้ำ