วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

Mini Thesis

Thesis Proposal

ส่วนที่ 1 ความเป็นมาโครงการ
1.1 ชื่อโครงการ
      ศูนย์บำบัดและรักษาโรคมะเร็ง บางพลี
1.1.1 คำจำกัดความ ความหมาย ของชื่อโครงการ 
           คือหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางในการวางแผนการบำบัดรักษาและให้คำปรึกษากับผู้ป่วย 
และผู้ที่มีความเสี่ยงเฉพาะโรคมะเร็ง
   1.1.2.    กลุ่ม : โรงพยาบาล   ประเภท : เฉพาะทางโรคมะเร็ง  
                               เป็นโครงการ โรงพยาบาล 400 เตียงของโรงพยาบาลรามาธิบดี บางพลี กำลังพัฒนาให้อยู่ในระดับเอเชีย
 1.1.3 โครงการใกล้เคียงเปรียบเทียบ (Case study)
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ 
เลขที่ 54 ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 โทร. 02-5766000
ประวัติความเป็นมา
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นหน่วยงานในสังกัดของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ก่อกำเนิด ขึ้นจากพระปณิธานแน่วแน่ใน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ที่จะก่อตั้งศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการขึ้นเพื่อช่วยประเทศ ชาติพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล สามารถให้การบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ได้ผลดีทัดเทียมกับประเทศพัฒนาแล้วที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ด้านนี้

     นอกจากทรงสอนนักศึกษาแพทย์ และพยาบาลด้านความรู้พื้นฐานของการเกิดมะเร็งในฐานะศาสตราจารย์ประจำของคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลแล้ว ยังได้ทรงวางรากฐานของการดำเนิน การวิจัยโรคมะเร็งมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยทรงรับเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็ง ซึ่งดำเนินการวิจัยเพื่อค้นคว้าหาสารเคมีที่มีคุณสมบัติฆ่าเซลล์มะเร็งป้องกันการเกิดมะเร็ง และศึกษาการเปลี่ยนแปลงในระดับโมเลกุลของยีนส์ที่ทำให้เกิดมะเร็งหรือยีนส์ที่ระงับการเกิดมะเร็งในโรคมะเร็ง ซึ่งพบบ่อยในประชากรไทย นอกจากนี้ ยังทรงวางนโยบายให้มีการจัดโครงการศึกษาวิจัยโรคมะเร็งครบวงจร โดยทรงเริ่มจัดตั้ง “คลังชีววัตถุโรคมะเร็’ง” (Tumor Bank)
สำหรับมะเร็งชนิดที่พบมากในประชากรไทย ด้วยพระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลว่า ในอนาคตชิ้นเนื้อเหล่านี้ บางชนิดจะหาได้ยาก และการตัดชิ้นเนื้อมะเร็งซึ่งเป็นวิธีการรักษาด้านศัลยกรรม จะลดน้อยลง คลังชีววัตถุโรคมะเร็งนี้ ย่อมจะมีค่าต่อการศึกษาวิจัยในระดับโมเลกุล นำไปสู่วิธีการรักษาในแนวใหม่ ด้วยการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาล และความร่วมมือจากนักวิจัยจากบรรดาสถาบันต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศเป็นอย่างดี ทั้งยังมีการจัดกิจกรรมทางวิชาการต่างๆ ด้านโรคมะเร็งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์ฯ ได้เป็นอย่างดี ถึงขั้นสมควรพัฒนาไปยังระยะที่สอง คือ การจัดตั้งโรงพยาบาลเฉพาะทาง และดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งให้ได้มาตรฐานทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ให้เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศ ซึ่งนำการวิจัยทางคลินิกมารองรับการตรวจวินิจฉัย การรักษา และบำบัดโรคมะเร็ง ร่วมกับฐานการวิจัยทางชีวการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพอย่างครบวงจร ให้ได้วิธีการรักษาที่ได้ผลมากขึ้น จัดการฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่แพทย์ทั่วประเทศ เป็นการยกระดับมาตรฐานการรักษาโรคมะเร็งในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
    ยิ่งไปกว่านั้น เป้าหมายของศูนย์ฯ ยังสอดคล้องกับแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 โดยจะผลิตและพัฒนาคุณภาพบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านโรคมะเร็งที่เหมาะสมกับสังคมไทย สู่เป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากร ให้มีความเหมาะสมสอดคล้อง และทันเวลาที่จะรองรับนโยบายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศในอนาคต
   ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงจัดตั้งศูนย์แห่งนี้ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถเนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษาเมื่อปีพุทธศักราช 2547 ได้เสด็จทรงวางศิลาฤกษ์อาคารที่ทำการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม 2546 

     วิสัยทัศน์   “เป็นโรงพยาบาลชํานาญการด้านวิจัย และการดูแลรักษาโรคมะเร็ง ระดับสากล”
     พันธกิจ
  • ให้บริการทางการแพทย์โดยเฉพาะด้านโรคมะเร็ง ที่ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล
  • ทําการวิจัยมุ่งสู่ความเป็นเลิศ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันมะเร็งทั้งในและต่างประเทศ
  • พัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์สู่ความเป็นเลิศระดับสากลด้านโรคมะเร็ง
          โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มุ่งเน้นให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งและพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งเป็นสำคัญ ในด้านการบริการ โรงพยาบาลมีบริการที่ครบวงจร โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และให้การรักษาภายใต้การทบทวนวิเคราะห์อย่างละเอียด ลึกซึ้ง โดยคณะกรรมการกำหนดแผนการรักษา หรือ Tumor board committee ทั้งสำหรับผู้ที่ยังไม่เป็นมะเร็งแต่อาจมีอาการหรือมีผลการตรวจบางอย่างผิดปกติ ตลอดจนผู้ที่วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งแล้ว ซึ่งทำให้ผู้รับบริการมั่นใจได้ว่า ได้รับการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพ มีประโยชน์สูงสุด มีความปลอดภัย และได้มาตรฐานสากล

การบริการเด่นๆ
     Care Program เป็นโปรแกรมการดูแลรักษาเฉพาะโรค ควบคู่ไปกับพัฒนาการศึกษาวิจัยทางคลินิคที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นเฉพาะโรคมะเร็งบางชนิดที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย เป็นโปรแกรมหลัก เป็นกิจกรรมเด่นของโรงพยาบาล ได้แก่
     การทุ่มเททำการศึกษาวิจัย คิดค้นวิธีรักษา พํฒนาระบบการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ใน care program ทั้ง 4 โปรแกรม ทำให้เราเชี่ยวชาญและรู้ลึกซึ้งถึงวิธีการพิชิตโรคมะเร็งทั้ง 4 ชนิดเป็นอย่างดี


อ้างอิง : http://www.cccthai.org/





1.2 ประเด็นที่มาโครงการ
1.2.1 จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทยเป็นเขตชุมชน อุตสาหกรรมและมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น ทำให้มีประชาชนหนาแน่น มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัย ระบบบริการสาธารณสุขมีแต่โรงพยาบาลขนาดเล็กและขนาดกลาง 
ไม่มี ศูนย์บริการทางการแพทย์ระดับ Excellence Center หรือระดับคณะแพทยศาสตร์  ที่จะช่วย พัฒนาระบบสาธารณสุขในพื้นที่ในด้านการศึกษา วิจัยและบริการทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ฯ จึงได้เสนอโครงการพัฒนารามาธิบดีสู่คณะแพทย์ศาสตร์ชั้นนำในเอเชีย เพื่อพัฒนาวงการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย อันจะเกิดประโยชน์ ต่อประชาชน ทั้งในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการและเขตรอบนอก ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร รวมถึงประชาชนใน 7 จังหวัดภาคตะวันออก
โครงการนี้จึงเปรียบเหมือนกับเป็นศูนย์กลางเพื่อการรวมตัวกันโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คำปรึกษาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง บำบัดและรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ให้บริการทางการแพทย์ ที่มีความซับซ้อน และเทคโนโลยีเครื่องมือที่ทันสมัย มีความเป็นสากล และมุ่งเน้นกลุ่มผู้ใช้บริการ ไปที่ผู้ที่มีความเสี่ยง และ ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกกรณี ซึ่งสถานที่เช่นนี้มีเพียง 7 แห่งในประเทศไทย ที่เป็นศุนย์มะเร็งโดยเฉพาะ ไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาล โดยทั่วไป
1.2.2สถิติข้อมูลสนับสนุน การคาดการณ์การขยายตัวในอนาคต



จากรูป แสดงถึงจำนวนศูนย์มะเร็งภูมิภาคที่มีเพียง 8 ศูนย์ รวมสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งไม่ได้นับรวมหน่วยมะเร็งในโรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งเป็นตัวเลขของสถานที่ที่น้อย เมื่อเทียบ กับสถิติผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นๆทุกวัน






อ้างอิง : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

ส่วนที่ 2 เป้าหมายโครงการ 
2.1 องค์ประกอบโครงการ
         2.1.1 องค์ประกอบหลัก มีพื้นที่ประมาณ 60%
              1.ผู้ป่วยใน 
                 2.ผู้ป่วยนอก
                 3.หอพักผู้ป่วยพิเศษ ชาย/หญิง กรณีให้ยาเคมีบำบัด 100 เตียง
                 4.หอพักผู้ป่วยระยะประคับประคอง
                 5.ห้องเคมีบัด 2-8 ชั่วโมง 20 เบาะนั่ง / 5 ห้องพักชั่วคราว
                 5.ห้องรังสีวินิจฉัย
                 6.ห้องรังสีมะเร็งรักษา
                 7.ห้องผ่าตัด
                 8.ห้องให้คำปรึกษาผู้มีความเสี่ยง
                 9.ห้องพักแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่

         2.1.2 องค์ประกอบรอง มีพื้นที่ประมาณ 20%
               1.ส่วนพักคอย
                 2.สวน
                 3.ห้องนันทนาการ
                 4.ห้องอาหาร
                 5.ร้านขายของ/เยี่ยมผู้ป่วย
                 6.Hall
                 7.Lobby
                 8.Information
                 
         2.1.3 ส่วนบริการ มีพื้นที่ประมาณ 20% 
               1.ห้องเครื่องต่างๆ 
                 2.ห้องเครื่องทางการแพทย์ เช่น แก็สออกซิเจน
                 3.ห้องซักรีด
                 4.ห้องครัว
                 5.ส่วน office
                 6.ส่วนบริหาร
                 7.Lobby
                 8.ห้องพนักงาน
                
2.2 ผู้ใช้หลักโครงการ
                 ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกระยะ
                 ญาติผู้ป่วย
                 แพทย์/พยาบาล/เจ้าหน้าที่

2.3 พื้นที่ใช้สอยโครงการ
         2.3.1 พื้นที่โครงการโดยประมาณ
                  พื้นที่โครงการประมาณ 15,000-20,000 sq.m
         2.3.2 ขนาดที่ตั้งโครงการโดยประมาณ
                  ที่ตั้งโครงการประมาณ 5,000 sq.m             
         2.3.3 FAR และ OSR
                  FAR 1:6/OSR 30%
                  
2.4 งบประมาณ (โดยประมาณ)
                 200,000,000 บาท

2.5 แนวความคิดและจินตภาพโครงการที่ตั้งเป้าหมายไว้
      แบ่งพื้นที่สำหรับสวนเพื่อพักผ่อน คลายเครียด และให้ธรรมชาติช่วยบำบัด มีส่วน tower 12 ชั้น เป็นส่วนพักฝื้น และ low-rise สำหรับส่วนบำบัดอื่นๆที่ไม่ต้องพัก



ส่วนที่ 3 ที่ตั้งโครงการ 
3.1 การเลือกทำเลที่ตั้งโครงการ (Location Selection)

จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทยเป็นเขตชุมชนอุตสาหกรรมและมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น ทำให้มีประชาชนหนาแน่น มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย ระบบบริการสาธารณสุขมีแต่โรงพยาบาลขนาดเล็กและขนาดกลาง ไม่มีศูนย์บริการทางการแพทย์ระดับ Excellence Center หรือระดับคณะแพทยศาสตร์ที่จะช่วยพัฒนาระบบสาธารณสุขในพื้นที่ในด้านการศึกษาวิจัยและบริการทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ฯ จึงได้เสนอโครงการพัฒนารามาธิบดีสู่คณะแพทย์ศาสตร์ชั้นนำในเอเชีย เพื่อพัฒนาวงการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย อันจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนทั้งในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการและเขตรอบนอกฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร รวมถึงประชาชนใน 7 จังหวัดภาคตะวันออก โดยโครงการนี้เชื่อมโยงกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ถนนพระราม 6 ซึ่งเน้นในด้านการศึกษาของแพทย์และบุคลากรในระดับหลังปริญญา

โดยโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับที่ดินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช พื้นที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ ซอยสุขาภิบาล 119 อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ  จำนวน 291-1-63 ไร่ ซึ่งคณะรัฐบาลได้อนุมัติดำเนินการโครงการพัฒนารามาธิบดีสู่คณะแพทย์ศาสตร์ชั้นนำในเอเชียคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ที่ดินราชพัสดุ กรมธนารักษ์ อ.บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

              
เนื่องจากต้องรอข้อมูลจากทางโรงพยาบาลรามาธิบดี เกี่ยวกับผังโครงการจึงจะทราบตำแหน่งศูนย์โรคมะเร็ง



วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

My imagine










imagine
 
เป็นอาคาร low rise โอบล้อมด้วย ธรรมชาติ จากพืชพรรณไม้ มีสวนพฤกษศาสตร์เพื่อผ่อนคลายผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด เพื่อลดทอนความเครียดที่เกิดขึ้นสูงในช่วงวิกฤตชีวิต

อาคารมีความโล่ง โปร่ง นำแสงจากธรรมชาติเข้ามาภายในอาคาร ให้มากที่สุด และเต็มไปด้วยธรรมชาติ พืชพรรณไม้ และสายน้ำ





My inspiration

New MCGHealth Cancer Center




ตั้งอยู่ที่ ออกัสตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา เป็นศูนย์สุขภาพ วิจัย และบำบัดผู้ป่วยโรคมะเร็ง
เป็นอาคาร 2 ชั้น 

Designed by Patients for Patients

ได้รับการออกแบบด้วยทีมงานที่ปรึกษาของผู้ป่วย, โครงสร้างสองชั้นหรูหราโดดเด่นด้วยเฟอร์นิเจอร์หรูหรา,ติดตั้งจากที่ต่างๆ ด้านหน้าทางเข้าอาคารเป็นกระจกสูงทั้งผืน เปิดโล่งให้รู้สึกโล่ง โปร่งไม่อึกอัด, ตกแต่งงานศิลปะที่สวยงามและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยอื่น ๆ ได้แก่คาเฟ่, ห้องสมุด, ที่สำหรับการทำสมาธิ ที่สวนพื้นชั้นล่างและสวนบนชั้นดาดฟ้า





Approach 


สวนบนชั้นดาดฟ้า

สวนสำหรับทำสมาธิ

ที่โถงต้อนรับ ตกแต่งด้วยงานประติมากรรม เป็นริบบินขนาดใหญ่
Ribbons of Hope
By Thomas Lyles



และที่ผนังก็ตกแต่งด้วยภาพเขียนศิลปะ เพื่อผ่อนคลายความเครียดของผู้ป่วย






โครงการนี้ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำวิทยานิพนธ์...
    ...แนวคิดในการออกแบบของอาคารนี้โดยให้ความสำคัญกับผู้ป่วยโดย ให้ผู้ป่วยมีสิทธิ์ที่จะแสดงความเห็นต่อ สถานที่ที่เค้าจะได้รับการบำบัด และการป้องกันความเครียดที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโดยดึงงานศิลปะมาตกแต่ง ภายในอาคารเพื่อลดความเครียดของทั้งผู้ป่วยและญาติ  และพื้นที่สำหรับการทำสมาธิที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ เพื่อกำลังใจให้ผู้ป่วย


    ปัจจุบันโรคมะเร็งได้คร่าชีวิตผู้คนมากมายในอดีต แต่ปัจจบันได้มีการรักษาที่ทันสมัย สามารถทำให้หายขาดจากโรคได้ โดยนวัตกรรมสมัยใหม่ทางรังสีวิทยา แต่นอกเหนือจากนั้นยังต้องเป็นกำลังใจจากคนรอบข้างและตนเอง ที่สำคัญมากๆเช่นเดียวกัีน การทำสมาธิ และ อยู่ในที่สงบเพื่อผ่อนคลายจิตใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับงานออกแบบศนย์บำบัดนี่เช่นเดียวกัน

    แรงบันดาลที่มำให้อยากทำเกิดจากสถิติของคนไทย เกี่ยวกับโรคมะเร็งนี้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน และเข้ารับการรักษาก็เพิ่มมากขึ้น จึงส่งผลให้สถานที่ไม่เพียงพอ และสำหรับเครื่องมือที่ทันสมัยก็มีน้อย และติดข้อจำกัดเรื่องราคาที่ค่อนข้างสูง ต่อครั้ง กับการรักษา ต่อเนื่อง หลายๆเดือน


My Profile





















ชื่อ : นางสาวพิรชุดา  ปทุมนุกูลศรี
NAME : PIRACHUDA PATHUMNUKOOLSRI

รหัสนักศึกษา : 5100138
STUDENT ID : 5100138

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ศูนย์บำบัดโรคมะเร็ง CanCer Cenrter

ที่อยู่เว็บ : http://thesis5100138.blogspot.com/

ประวัติการศึกษา : 
มัธยม : โรงเรียนสิรินธร จ.สุรินทร์
           : Sirindhorn School
ปริญญาตรี: มหาวิทยาลัยรังสิต
                 : Rangsit University

E-mail :
pirachuda@hotmail.com
mhai0138@gmail.com